เมนู

วรรคที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์


สันธานวรรคที่ 1


อรรถกถาโคตมีสูตรที่ 1


วรรคที่ 6

โคตมีสูตรที่ 1 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สกฺเกสุ วิหรติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ
ไปประทับอยู่โดยการเสด็จครั้งแรก. บทว่า มหาปชาปตี ได้แก่
ผู้ได้พระนามอย่างนี้ เพราะเป็นใหญ่ ประชาคือพระโอรสและใน
ประชาคือพระธิดา. บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปยังกรุงกบิลพัสดุ์ให้นันทกุมารบวชก่อน
ทีเดียว ในวันที่ 7 จึงให้ราหุลกุมารบวช. เมื่อชาวพระนครทั้ง 2
ฝ่ายออกไปเพื่อเตรียมรบในเพราะเหตุทะเลาะกันเรื่องมงกุฎ พระ-
ศาสดาเสด็จไปทำพระเจ้าเหล่านั้นให้เข้าใจกันแล้วตรัสอัตตทัณท-
สูตร. เจ้าทั้งหลายทรงเลื่อมใสแล้วได้มอบถวายพระกุมารฝ่ายละ
250 องค์. พระกุมาร 500 องค์เหล่านั้นบวชในสำนักพระศาสดา.
ลำดับนั้นพระชายาของท่านเหล่านั้นส่งข่าวไป ทำให้เกิดความ
ไม่ยินดี (ในการบวช). พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้น
เกิดความไม่ยินดี จึงนำภิกษุหนุ่ม 500 รูปเหล่านั้นไปสู่สระชื่อว่า
กุณาละ ประทับนั่งบนแผ่นหินที่ทรงเคยประทับนั่งในครั้งที่พระองค์
เสวยพระชาติเป็นนกดุเหว่า. บันเทาความไม่ยินดีของภิกษุเหล่านั้น
ด้วยเรื่องกุณาชาดก แล้วให้ท่านทั้งหมดนั้นดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล แล้วนำกลับมาสู่ป่ามหาวันอีกครั้งหนึ่ง ให้ดำรงอยู่ใน
พระอรหัตตผลแล. เพื่อจะทราบจิตของภิกษุเหล่านั้น พระชายา
ทั้งหลายจึงส่งข่าวไปอีกครั้ง. ภิกษุเหล่านั้นส่งสานตอบไปว่า
พวกเราไม่ควรอยู่ครองเรือน พระนางเหล่านั้นทรงดำริว่า บัดนี้
ไม่ควรที่พวกเราจะกลับไปยังเรือน เราจะไปสำนักพระนางมหา-
ปชาบดีขออนุญาตบรรพชาแล้วจักบวช. ทั้ง 500 เข้าไปเฝ้า
พระนางมหาปชาบดีทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ขอพระแม่เจ้าโปรด
อนุญาตให้หม่อมฉันทั้งหลายบวชเถิด. พระนางมหาปชาบดี พา
สตรีเหล่านั้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เข้าไปเฝ้าในเวลาที่พระราชาปรินิพพานภายในเศวตฉัตร ดังนี้
ก็มี. ถามว่า เพราะเหตุไรพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงห้ามว่า อย่าเลย
โคตมี ท่านอย่าชอบใจไปเลย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ย่อมมีบริษัท
4 มิใช่หรือ มีก็จริง แต่พระองค์มีพระประสงค์จะทำให้หนักแน่น
แล้วค่อยอนุญาตจึงทรงห้ามเสีย ด้วยทรงพระดำริว่า สตรีเหล่านี้
จักรักษาไว้โดยชอบซึ่งบรรพชาที่เราถูกอ้อนวอนหลายครั้งอนุญาต
ให้ยาก ๆ ด้วยคิดว่า เราได้บรรพชามาด้วยความลำบาก. บทว่า
ปกฺกามิ ความว่า เสด็จเข้าไปยังกรุงกบิลพัสดุ์นั้นแหละอีกครั้งหนึ่ง
บทว่า ยถาภิรนฺตํ วิหริตฺวา ความว่า ทรงตรวจดูอุปนิสัยแห่งสัตว์
ผู้จะตรัสรู้ จึงประทับอยู่ตามพระอัธยาศัย. บทว่า จาริกํ ปกฺกามิ
ความว่า เมื่อจะทรงกระทำการสงเคราะห์มหาชน จึงเสด็จจาริก
แบบไม่รีบด่วนด้วยพุทธศิริอันสูงสุด ด้วยพุทธวิลาสอันหาที่เปรียบ
มิได้.

บทว่า สมฺพหุลาหิ สากิยานีหิ สทฺธึ ความว่า พระนาง
มหาปชาบดี ทรงถือเพศบรรพชาอุทิศพระทศพลภายในพระนิเวศน์
นั่นเอง แล้วให้นางศากิยานีทั้ง 50 นั้น ถือเพศบรรพชาเหมือนกัน
แล้วเสด็จหลีกไปพร้อมกับนางศากิยานีเป็นอันมากแม้ทั้งหมดนั้น.
บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ทรงพระดำเนินไป. ในเวลาที่นางมหาปชาบดี
นั้นทรงดำเนินไป เจ้าหญิงทั้งหลาย ผู้สุขุมาลชาติจักไม่สามารถ
เดินไปด้วยพระบาทได้ เพราะเหตุนั้น เจ้าศากยะและเจ้าโกลิยะ
จึงได้จัดวอทองส่งไป. ก็นางศากิยาณีเหล่านั้นคิดว่า เราเมื่อขึ้นยาน
ไป เป็นอันชื่อว่าไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา ดังนี้แล้ว
จึงได้ใช้พระบาทดำเนินไปตลอดทาง 51 โยชน์. ฝ่ายเจ้าทั้งหลาย
ให้จัดอารักขาทั้งข้างหน้าข้างหลัง บรรทุกข้าวสาร เนยใส และ
น้ำมันเป็นต้นเต็มเกวียน แล้วส่งบุรุษทั้งหลายไปด้วยสั่งว่า พวก
ท่านจงตระเตรียมอาหารในที่ที่นางศากิยานีเหล่านั้นไป ๆ กัน.
บทว่า สูเนหิ ปาเทหิ ความว่า เพราะนางศากิยานีเหล่านั้นเป็น
สุขุมาลชาติ ตุ่มพองเม็ดหนึ่งผุดขึ้นที่พระบาททั้งสอง เม็ดหนึ่ง
แตกไป พระบาททั้งสองพองขึ้นเป็นประหนึ่งเมล็ดผลตุ่มกา.
เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า สูเนหิ ปาเทหิ ดังนี้.
บทว่า พหิทฺวารโกฏฺฐเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตู. ถามว่า ก็เพราะ
เหตุไร พระนางมหาปชาบดีจึงยืนอยู่อย่างนั้น ? ตอบว่า ได้ยินว่า
พระนางมหาปชาดีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า เราพระตถาคตไม่
ทรงอนุญาตแล้ว ก็ถือเพศบรรพชาด้วยตนเองทีเดียว ก็แลความ
ที่เราถือเพศบรรพชาอย่างนี้ เกิดปรากฏไปทั่วชมพูทวีป ถ้าพระ-

ศาสดาทรงอนุญาตบรรพชาไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี แต่ถ้าพระองค์
จักไม่ทรงอนุญาตไซร้ จักมีความครหาอย่างใหญ่หลวง จึงไม่
อาจจะเข้าไปยังวิหาร ได้ยินทรงกรรแสงอยู่.
บทว่า กึ นุ ตวํ โคตมิ ความว่า ความวิบัติแห่งราชตระกูล
เกิดขึ้นแล้วหรือหนอ เพราะเหตุไรหนอ พระองค์ทรงภาวะ
แปลกไปอย่างนี้ คือมีเท้าบวม ฯลฯ ประทับยืนอยู่แล้ว ฯลฯ บทว่า
อญฺเญนปิ ปริยาเยน ได้แก่ แม้โดยเหตุอื่น. พระอานนท์กล่าว
พระคุณของพระนางมหาปชาบดีนั้นด้วยคำมีอาทิว่า พระนาง-
มหาปชาบดีนั้นด้วยคำมีอาทิว่า พระนางมหาปชาบดีมีอุปการะมาก
พระเจ้าข้า ดังนี้ เมื่อจะทูลขอบรรพชาอีกครั้ง จึงได้ทูลอย่างนั้น.
แม้พระศาสดาก็ทรงพระดำริว่า ธรรมดาว่าสตรีทั้งหลาย
มีปัญญาน้อย เมื่อเราอนุญาตการบรรพชาด้วยเหตุเพียงถูกขอ
ครั้งเดียวเท่านั้น ก็จะไม่ถือเอาคำสั่งสอนของเราให้หนักแน่น
ดังนี้แล้ว จึงทรงห้าม 3 ครั้ง บัดนี้ เพราะเหตุที่เธอประสงค์จะ
ถือเอาคำสอนของเราให้หนักแน่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์
ถ้ามหาปชาบดีโคตมีจะยอมรับครุธรรม 8 ประการไซร้ การรับ
ครุธรรมนั้นแหละ จงเป็นอุปสมบทของเธอ. บรรดาเหล่านั้น
บทว่า สาวสฺสา ความว่า การรับครุธรรมนั้นแหละเป็นทั้งบรรพชา
เป็นทั้งอุปสมบทของเธอ.
บทว่า ตทหุปสมฺปนฺนสฺส แปลว่าผู้อุปสมบทในวันนั้น. บทว่า
อภิวาทนํ ปจฺจุฏฺฐานํ อญฺชลิกมฺมํ สามีจิกมฺมํ กาตพฺพํ ความ
ภิกษุณีไม่กระทำการดูถูกตนเองและดูหมิ่นผู้อื่น กระทำการกราบ

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำการลุกขึ้นด้วยอำนาจลุกขึ้นจาก
อาสนะออกไปต้อนรับ รวมนิ้วทั้ง 10 แล้วไหว้. การกระทำสามี-
จิกรรม กล่าวคือกรรมอันสมควร มีการปูอาสนะ และการพัดวี
เป็นต้น 1. บทว่า อภิกฺขเก อาวาเส ความว่า ไม่มีอาจารย์ให้
โอวาท โดยไม่มีอันตราย สำหรับนางภิกษุณีผู้อยู่ในอาวาสใด
อาวาสนะชื่อว่าอาวาสไม่มีภิกษุ. ภิกษุณีไม่ควรเข้าจำพรรษา
ในอาวาสเห็นปานนี้. บทว่า อนฺวฑฺฒมาสํ แปลว่า ทุกอุโบสถ.
บทว่า โอวาทูปสงฺกมน แปลว่า เข้าไปเพื่อต้องการโอวาท. บทว่า
ทิฏฺเฐน แปลว่า โดยเห็นด้วยตา. บทว่า สุเตน แปลว่า โดยได้ฟัง
ด้วยหู. บทว่า ปริสงฺกาย แปลว่า โดยรังเกียจด้วยการเห็นและ
การฟัง. บทว่า ครุธมฺมํ ได้แก่ อาบัติหนัก คือ อาบัติสังฆาทิเลส
บทว่า ปกฺขมานตฺตํ ได้แก่ ภิกษุณีพึงประพฤติมานัต 15 วันเต็ม.
บทว่า ฉสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในสิกขาบททั้งหลาย มีวิกาลโภชน-
สิกขาบทเป็นที่ 6. บทว่า สิกฺขิตสิกฺขาย ได้แก่ บำเพ็ญสิกขาโดย
ไม่ให้ขาดแม้สิกขาบทเดียว. บทว่า อกฺโกสิตพฺโพ ปริภาสิตพฺโพ
ความว่า ภิกษุณีไม่พึงด่าภิกษุด้วยอักโกสวัตถุ 10 ประการ
อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่พึงบริภาษด้วยการบริภาษอย่างใดอย่างหนึ่ง
อันอ้างถึงสิ่งที่น่ากลัว. บทว่า โอวโฏ ภิกฺขุนีนํ ภิกขูสุ วจนปโถ
ความว่า คลองแห่งถ้อยคำกล่าวคือ โอวาทิ อนุศาสนี และธรรมกถา
อันภิกษุณี ห้ามปิดในภิกษุทั้งหลาย คือภิกษุณีไม่ควรโอวาท
ไม่ควรอนุศาสน์ภิกษุไร ๆ แต่ภิกษุณีควรจะกล่าวตามประเพณี
อย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า พระเถระในปางก่อนได้บำเพ็ญวัตรเช่นนี้ ๆ มา.

บทว่า อโนวโฏ ภิกฺขูนํ ภิกฺขุนีส วจนปโถ ความว่า ภิกษุทั้งหลาย
ไม่ห้ามคำอันเป็นคลองในภิกษุณีทั้งหลายคือ ภิกษุทั้งหลายจง
โอวาท จงอนุศาสน์ จงกล่าวธรรมกถาตามชอบใจ ความสังเขป
ในข้อนี้มีดังว่ามานี้. แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร กถาว่าด้วยครุธรรมนี้
พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาพระวินัย ชื่อว่าสมันต-
ปาสาทิกานั้นแล.
โทมนัสอย่างใหญ่หลวงของพระนางปชาบดี สงบลงทันที
เพราะได้ฟังครุธรรม 8 ประการนี้ที่พระเถระเรียนในสำนัก
พระศาสดาแล้วมาทูลแก่พระนาง พระนางปราศจากความกระวน
กระวาย มีใจชื่นชมยินดี ประหนึ่งว่าโสรจสรงลงบนกระหม่อม
ด้วยน้ำเย็น 100 หม้อ ที่นำมาจากสระอโนดาด เมื่อจะทำให้แจ้ง
ซึ่งปิติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นเพราะรับครุธรรม จึงได้เปล่งอุทาน
มีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภนฺเต ดังนี้
บทว่า กุมฺภตฺเถนเภหิ ความว่า อันโจรผู้จุดไฟในหม้อแล้ว
เลือกเอาสิ่งของในเรือนของผู้ชื่นด้วยแสงสว่างนั้นขโมยไป. บทว่า
เสตฏฐิกา นาม โรคชาติ ความว่า รวงข้าวแม้ออกจากต้นข้าว
ที่ถูกหนอนตัวเล็ก ๆ เจาะถึงกลางก้านก็ไม่อาจถือเอาน้ำนม (คือ
ให้น้ำนม) ได้. บทว่า มญฺเชฏฺฐกา นามโรคชาติ ได้แก่ ภายใน
ลำต้นอ้อยมีสีแดง.
ก็ด้วยบทว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลึ นี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อเขาไม่
พูนคันกั้นสระใหญ่ น้ำสักหน่อยหนึ่งก็ไม่ขังอยู่เลย แต่เมื่อเขา

ปิดไว้ครั้งแรกนั่นแหละ น้ำใดที่ไม่ขังอยู่ เพราะไม่ปิดกั้นเป็นปัจจัย
น้ำแม้นั้นก็พึงขังอยู่ได้ฉันใด. ครุธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เราบัญญัติเสียก่อน เพื่อประโยชน์จะไม่ให้นางภิกษุณีจงใจล่วง
ละเมิดในเมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราไม่บัญญัติครุธรรม
เหล่านั้น เพราะมาตุคามบวช พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ 500 ปี
แต่ครุธรรมที่เราบัญญัติไว้เสียก่อน พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้
อีก 500 ปี รวมความว่าพระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้เพียง 1,000 ปี
ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนดังกล่าวมาฉะนี้.
ก็คำว่า วสฺสสหสฺสํ นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุ
ปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น 1,000 ปี โดยมุ่ง
ถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก 1,000 ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี
1,000 โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี 1,000 ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน
ปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ 5,000 ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้
แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ 5,000 ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะ
เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรม
ไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว
เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.
จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ 1

2. โอวาทสูตร


[142] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ
กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล ท่าน-
พระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี
พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประกอบด้วยธรรม
เท่าไรหนอแล สงฆ์สมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบ
ด้วยธรรม 8 ประการ สงฆ์พึงสมมติให้ทูลถามพระผู้มี-
ธรรม 8 ประการเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย 1 เป็น
พหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ 1 จำปาติโมกข์ทั้ง 2 ได้โดย
พิสดาร จำแนกแจกแจงวินิจฉัยได้ถูกต้อง ทั้งโดยสูตรและโดย
พยัญชนะ 1 เป็นผู้มีวาจางามกล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วย
วาจาของชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ 1 เป็น
ผู้สามารถเพื่อชี้แจงภิกษุณีสงฆ์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญ
ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา 1 เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของภิกษุณีทั้งหลาย
โดยมาก 1 ไม่เคยต้องอาบัติหนัก กับนางภิกษุณีผู้บวชอุทิศเฉพาะ
พระผู้มีพระภาคเจ้านุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ 1 เป็นผู้มีพรรษา 20
หรือเกินกว่า 1 ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม 8 ประการ
นี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้สอนนางภิกษุณี.
จบ โอวาทสูตรที่ 2